วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Lecture 2/2/11

Business Intelligence (con’t)
                การ Mining นั้นโดยส่วนมาก มักจะขึ้นอยู่กับ เทคโนโลยี หรือ ความสามารถของผู้บริหาร นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับข้อมูล หรือ Input อีกด้วย ว่า ถ้ามีลักษณะเป็นโครงสร้าง ก็ควรใช้ Data Mining แต่ถ้ามีลักษณะเป็น text ก็ควรใช้ Web Mining
Web Mining
                เนื่องจากใน web มีพฤติกรรมผู้บริโภค ผู้ใช้งานอยู่ในนั้น การทำ Web Mining จึงอาจเอาไว้เพื่อใช้ดูว่า พนักงานในบริษัทใช้ web ทำอะไร หรือคนนอกเข้ามาดูอะไรใน web เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การทำ Web Mining ก็คือ การค้นหาและวิเคราะห์ ถึงข้อมูลที่น่าสนใจและมีประโยชน์จาก web เกี่ยวกับ web และผ่าน Web-based tools ว่ามี click stream หรือ กระแสของการ click เป็นอย่างไรบ้าง แต่ทั้งนี้อาจมีประเด็น ethic โดยควรต้องระวังในเรื่องของ privacy ว่าละเมิดหรือไม่
                โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
§  Web content mining: ดู content ที่อยู่ใน web เช่น ถ้าผู้ใช้อยู่ใน web นาน แสดงว่ามี content ที่เขาสนใจ
§  Web structure mining: ดูโครงสร้าง เช่น การออกแบบweb ให้มี url ที่จดจำได้ง่าย
§  Web usage mining: ดู click stream เช่น เข้ามาครั้งแรกที่หน้าไหน, เข้ามาแล้วซื้อไหม

Strategic Information System Planning
                การไม่วางแผนอาจทำให้มีระบบมากมาย แต่ไม่มีสารสนเทศที่ต้องการ หรือ มีไม่ทันความต้องการ และถึงแม้อาจจะมีสิ่งนอกแผน ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะโลกสมัยนี้หมุนเร็วมาก แต่ถ้ามีการวางแผน ก็จะทำให้มีสิ่งนอกแผนเหล่านี้น้อยลง
IS/IT Planning แผนกลยุทธ์สารสนเทศ
                คือ การกำหนด infrastructure และ application ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ทุกระดับในองค์กร มีเพื่อช่วยองค์กรทำงาน โดยที่วัตถุประสงค์ของสารสนเทศและองค์กรนั้น จะต้องไปในทิศทางเดียวกัน และ ability ของ IT ก็ควรที่จะต้องช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ขององค์กร
Four-stage model of IS/IT Planning ทฤษฎีที่ใช้ในกระบวนการวางแผน
มี 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1.       Strategic planning: กำหนดกลยุทธ์ของสารสนเทศ หาความสัมพันธ์ของ organizational plan กับ IT plan ว่าระบบมีไว้เพื่อกลยุทธ์องค์กรข้อไหน
1.1.    Set IS mission: องค์กรมองการใช้ระบบอย่างไร เป็นตัวผลักดันกลยุทธ์ หรือ เครื่องมือ
1.2.    Access environment: ประเมิณสิ่งแวดล้อม เช่น ความสามารถ IS ในปัจจุบัน, แนวโน้มของเทคโนโลยีในอนาคต, ภาพพจน์ของ IS ในองค์กร, วงจรการใช้งาน IS ในปัจจุบัน, ทักษะของพนักงาน เป็นต้น
1.3.    Access organizational objectives strategies: เช่น ทบทวนแผนกลยุทธ์ว่ามีอะไรต้องปรับเพิ่มไหม
1.4.    Set IS policies, objectives, strategies: ตอบคำถามเกี่ยวกับองค์กร ว่ามองระบบสารสนเทศอย่างไร
2.       Organizational Information requirements analysis: ดูถึงความต้องการขององค์กรในภาพรวม ว่าเพื่อที่จะทำให้เกิดกลยุทธ์นั้น ต้องใช้สารสนเทศอะไร จะได้รู้ว่าระบบควรมีหน้าตาเช่นไร
2.1.    Access organization’s information requirements: วิเคราะห์ความต้องการดูถึง สิ่งที่ต้องการวันนี้ (Current information needs) และสิ่งที่ต้องการในอนาคต (Projected information needs)
2.2.    Assemble master development plan: นิยาม จัดสรรความจำเป็นตามลำดับความสำคัญ และวางแผนระยะเวลาของแผน
3.       Resource allocation planning: ประเมินทรัพยากรที่ต้องใช้สำหรับระบบที่นำเสนอมา ว่าต้องใช้อะไรบ้าง
4.       Project planning: ประเมินความคุ้มค่าของแผน ว่าคุ้มหรือไม่ที่จะทำ โดยอาจใช้หลัก Project management ที่ดูถึงเรื่อง task, ต้นทุน, เวลา, checkpoints และวันเสร็จสิ้น โดยถ้าไม่คุ้มค่าก็ควรที่จะปรับปรุงแผน
ทั้งนี้นอกจากทฤษฎข้างต้นแล้ว ยังมีเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนระบบอีกมากที่นิยมใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น The Business systems planning (BSP) model และ Critical success factors (CSFs)
The Business systems planning (BSP)
                เป็นวิธีที่ทำทั้ง Top-down และ Bottom-up จาก Business strategies ถึง Information architecture โดยต้องดูถึง Business Processes Across Functional Areas ว่าองค์กรมีการทำงานอย่างไรบ้าง โดยความเข้าใจต่างๆจะต้องตรงกัน มองให้เป็นระบบ ว่าข้อมูล flow อย่างไร เพราะถ้าหากมีการปรับโครงสร้างองค์กร จะได้ไม่ต้องปรับระบบใหม่ เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย เพราะระบบส่วนใหญ่มักมองเป็นรายแผนกงาน
                โดยมีวิธีทำคือ ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในองค์กร แล้วเริ่มทำการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่าง Business process และ Data class โดยอาจใช้สัญลักษณ์ c แทน create ว่า create data อะไร และ สัญลักษณ์ u แทน use ว่า use data อะไร วิเคราะห์ระบบในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร แล้วสัมภาษณ์ผู้บริหาร ก็จะได้มาซึ่งข้อสรุปเพื่อที่จะเอาไปทำ Architecture ต่อ และทำแผนให้เสร็จสิ้น
                ข้อดี คือ ทำให้เห็นภาพชัดเจน มีขั้นตอน และช่วยสำหรับองค์กรที่ไม่เคยวางแผนหรือแผนที่มีอยู่ไม่มีคุณภาพ แต่ข้อเสีย คือ ใช้เวลาในการทำนานมาก, ในองค์กรใหญ่ๆบางครั้งข้อมูลก็เยอะเกินไป และบางครั้งก็ทำให้สนใจแต่ปัจจุบัน จนลืมคำนึงถึงการเติบโตในอนาคต
Critical success factors (CSFs)
                Critical success factors คือ ประเด็นที่ทำให้องค์กร survive และ success ซึ่งควรเป็นเรื่องหลักๆไม่กี่ประเด็น และมีความแตกต่างกันออกไปตามอุตสาหกรรม โดยผู้บริหารระดับสูง ควรจะมองประเด็นเหล่านี้ได้ดี ดังนั้น วิธีนี้จึงเป็นการทำแผนให้มุ่งไปที่ critical success factors ซึ่งมองว่าผู้บริหารระดับสูงต้องการอะไร ถ้าสารสนเทศสามารถตอบโจทย์นั้นได้จะเป็นสิ่งที่ดีมาก และควรใช้เครื่องมืออะไรในการดึงสิ่งเหล่านั้นออกมา
                อาจทำได้โดยสัมภาษณ์ผู้บริหารในแผนกต่างๆ ว่ามีประเด็นความเห็นอะไรบ้างต่อ CSF ซึ่งผู้บริหารแต่ละคนอาจมีความเห็นที่เหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ ดังนั้น สิ่งที่ได้ออกมาจึงเป็นสิ่งที่ individual และต้องเอามาวิเคราะห์ต่อ แล้วสร้าง Agreement ออกมา นิยามว่า CSF ขององค์กรคืออะไร เพราะจะมีประโยชน์ในการกำหนดว่ามี Decision Support System (DSS) เรื่องอะไรบ้าง มี Database อะไรบ้าง รวมไปถึงสามารถนำมาใช้ในการกำหนดว่าเรื่องใดมีความสำคัญควรทำก่อน
5302110050

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น